แนะนำวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

     วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง (Lampang Inter-Tech College) มีชื่อย่อภาษาอังกฤษคือ “LIT” ได้รับอนุญาตให้จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นการพัฒนาและขยายฐานการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และเป็นการสนองตอบต่อนโยบายการจัดการศึกษาของชาติเปิดการเรียนการสอนในระดับ ปวช. และ ปวส. ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา จึงได้ก่อตั้งวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปางขึ้น เพื่อเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา

     วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง (Lampang Inter-Tech College : LIT) มุ่งมั่นพัฒนาสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความเป็นเลิศในทุกมิติ และเป็นหนึ่งในสถานศึกษาเอกชนชั้นนำของจังหวัดลำปาง ในการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีศักยภาพ เต็มเปี่ยมด้วยทักษะและความคิดสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการศึกษาไปใช้ในโลกการทำงานที่แท้จริง

ปรัชญา ( Philosophy )

     ” เรียนรู้สู่ชีวิตที่ทันสมัยในโลกแห่งเทคโนโลยี “
     ” Learn to live a Modern Life in a Technological World “

วิสัยทัศน์ ( Vision )

     ” มุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ ที่เชี่ยวชาญวิชาชีพ สร้างสรรค์วัฒนธรรม “
     ” Aiming to become a university of Professional Learning and Cultural Creation “

พันธกิจ ( Mission )

      1. ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่มุ่งส่งเสริมศักยภาพให้เป็นบัณฑิตมืออาชีพที่พึงประสงค์
      2. การวิจัยและพัฒนาที่สร้างองค์ความรู้ให้เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน
      3. การบริการวิชาการที่เสริมสร้างการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
      4. การอนุรักษ์ ถ่ายทอดและฟื้นฟูขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมภาคเหนือ
      5. การบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
      6. พัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

อัตลักษณ์ ( Identity )

     ” บัณฑิตมืออาชีพ “

เอกลักษณ์ ( Uniqueness )

     ” สถาบันผลิตบัณฑิตที่เชี่ยวชาญวิชาการและวิชาชีพ “

วัตถุประสงค์ของวิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

      1. เพื่อจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ มีทักษะฝีมือในการทำงาน มีทักษะด้านภาษา ทักษะชีวิตและสังคม และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการมีคุณธรรมและ จริยธรรม
      2. เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งในด้านการเรียนการสอน และพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการพัฒนาท้องถิ่น สังคมและประเทศ
      3. เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่วิทยาลัยมีความชำนาญในรูปแบบที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสำคัญ
      4. เพื่อทำนุบำรุงและเผยแพร่ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปะและวัฒนธรรมไทยตลอดจนศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และสร้างความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติ